วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การเขียนสกู๊ปพิเศษ (ทีวี) ตอน 1

องค์ประกอบของสกู๊ปพิเศษ (ทีวี)
-                   บท
-                   ภาพ
-                   เสียง
เคล็ดลับการเขียนบท
เคล็ดลับการเขียนบทรายงานพิเศษนั้น เหมือนศิลปะการใช้องค์ประกอบทั้ง 3 อย่าง วางให้เดินเรื่องอย่างสอดคล้องกัน การเขียนบทโดยไม่ดูภาพ ถือว่าเป็นความผิดพลาดอย่างสาหัส เพราะจะทำให้เสียงบรรยายตามบท ไปคนละทิศทางกับภาพ คนดูจึงไม่รู้สึกอินในรายงานพิเศษนั้นๆ เลย ดังนั้นบท ภาพ และเสียงต้องมีความสัมพันธ์กัน
ปัญหาของผู้เริ่มเขียนบทใหม่
-                   หลงประเด็น
-                   เน้นข้อมูล
-                   จูนไม่ครบ
-                   จบไม่ลง
หลงประเด็น
-                   ประเด็นเยอะเกินไป เราอาจจะตั้งประเด็นไว้แล้ว แต่เมื่อไปถึงสถานที่จริง มันมีอะไรมากระทบอารมณ์ความเป็นศิลปิน ทำให้อันนี้ก็อยากได้ อันโน้นก็อยากใส่ อันนั่นก็น่าสนใจ ทำไปทำมา ก็เลยเละตุ้มเป๊ะ เช่น อยากจะทำรายงานประสาทหินพิมายในแง่ประวัติศาสตร์ แต่เมื่อไปแล้ว เห็นเขากำลังนำแมวสีวาท ซึ่งเป็นแมวชื่อดังของพิมายมาประกวด ก็อยากใส่เข้าไป เห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา ก็อยากทำเรื่องการท่องเที่ยว เห็นว่าจะมีการเสนอเป็นมรดกโลกก็อยากนำเสนอ เห็นเขากำลังบูรณะ ก็อยากแทรกเข้าไป เห็นเขาแสดงแสงสีเสียง ก็อยากโชว์ ได้ยินคนพิมายพูดภาษาโคราช ก็อยากแทรกไปหน่อย กลายเป็นว่าแง่ประวัติศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งเล็กๆ ไปเลย
-                   ประเด็นกว้างเกินไปคล้ายอันแรก แต่ไม่มีการตั้งประเด็นที่ชัดเจน เช่นฉันอยากจะทำสกู๊ปปราสาทหินพิมาย...แต่ไม่ได้เจาะจงว่าจะทำในแง่ไหน แง่ท่องเที่ยว แง่ประวัติศาสตร์ แง่ศิลปวัฒนธรรม หรือแง่มุมการเปรียบเทียบ
เน้นข้อมูล
-                   ข้อเสียของการเน้นข้อมูลมากเกินไป คือ ไม่มีภาพประกอบ ทำให้บทบรรยายไร้ความกลมกลืน ถ้าเป็นสกู๊ปหนังสือพิมพ์ ไม่มีปัญหา เพราะคนจะเสพจากตัวหนังสือเป็นหลัก แต่สำหรับทีวีแล้ว หากข้อมูลไปทาง ภาพไปทาง เสียงไปทาง ความหายนะก็จะมาเยือนทันที เรื่องนี้จะอธิบายให้เห็นชัด ด้วยการรายงานข่าวฟุตบอลคู่บิ๊กแมท แมนยู – เชลซี


จูนไม่ครบ      
-                   อาการนี้ เกิดจากการมีวัตถุดิบจำนวนมากมากองไว้ตรงหน้า แต่ไม่สามารถเอามาเชื่อมโยงกันเป็นเรื่องเป็นราวได้หมด เช่นมีเสียงสัมภาษณ์มา 5 คน มีภาพประกอบอยู่ 4 ชุด มีไฮไลท์อยู่ 3 จุด และมีรายละเอียดของข้อมูลอยู่ 3 หน้า เขียนไป เขียนมา ออกทะเลไปเลย ทำให้เกิดปัญหาต่อมาคือ
จบไม่ลง         
-                   คือการจะขมวดเรื่องราวทั้งหมด มาให้เป็นบทจบที่สวยงามไม่ได้
วิธีแก้ปัญหาเหล่านี้คือ
-                   การเขียนร่างของบทรายงาน ซึ่งคล้ายศิลปินเขียนร่างผลงานด้วยดินสอ เพื่อให้ได้โครงสร้างที่พอใจ ก่อนที่จะลงเส้นและลวดลายจริง โดยการเขียนร่าง ต้องทำตั้งแต่ก่อนลงไปถ่ายทำ ซึ่งควรเขียนไว้คร่าวๆ เน้นประเด็นหลักไว้ อันไหนไม่ใช่ ให้ตัดทิ้ง เพื่อไม่ให้หลงประเด็น เมื่อถ่ายทำเสร็จแล้ว ก็ให้มาร่างรูปแบบโครงสร้าง
-                   ต้องอย่าลืมว่า สกู๊ปทีวีนั้น มีเวลาให้ออกอากาศอย่างมาก 3 นาทีเท่านั้น หรือคิดเป็น 180 วินาที ดังนั้นอะไรที่ไม่จำเป็น อย่าใส่เข้ามา
-                   สมมติ รายงานทหารบุกยึดทรัพย์นายทุนรุกที่ ก่อนอื่นต้องนำข้อมูลที่มีมาวางไว้ก่อน ได้แก่
o  เปิดหน้า
o  เสียงทหาร
o  เสียงนายทุน
o  เสียง ปปง.
-                   ใส่รายละเอียด
o  เปิดหน้า... ปล่อยเสียงพิธีกร
o  ความเป็นมา...ปล่อยเสียงทหาร
o  นายทุนให้การ...ปล่อยเสียงนายทุน
o  ปปง. ชี้แจง..ปล่อยเสียง ปปง.
o  สรุปจบ

---------------------------
บทความโดย...จันทร์หอม กุลเกษ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น